วันอาทิตย์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ทฤษฎีกระจายนวัตกรรม (Innovation Diffusion Theory)

ทฤษฎีกระจายนวัตกรรม (Innovation Diffusion Theory)
ดร. อำพล ชะโยมชัย
ทฤษฎีนี้พัฒนาขึ้นโดย ศาสตราจารย์ โรเจอร์ส (Everett M. Rogers) ซึ่งได้ทำวิจัยจำนวนมากทางด้านการกระจายทางนวัตกรรม หนังสือที่อธิบายทฤษฎีนี้ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1962 ทุกวงการได้ใช้ทฤษฎีของศาสตราจารย์โรเจอร์สเป็นพื้นฐานในการอธิบายปรากฏการณ์ต่างๆหรือใช้เป็นฐานความรู้ในการต่อยอดการทำงานในเรื่องต่างๆมากมาย ซึ่งโดยทั่วไป ทฤษฎีกระจายนวัตกรรมนี้ จะใช้อธิบายหรือพยากรณ์ว่า ผลิตภัณฑ์ใหม่หรือแนวคิดใหม่นั้น จะกระจายไปอย่างไร และจะได้รับการยอมรับหรือปฏิเสธในลักษณะอย่างไร
ศาสตราจารย์โรเจอร์สได้ระบุว่า “การกระจาย (Diffusion)” คือ กระบวนการที่นวัตกรรมถูกสื่อสารกันระหว่างสมาชิกในสังคมนั้นตลอดเวลา ซึ่งจากนิยามนี้ สามารถแบ่งองค์ประกอบของการกระจายนวัตกรรมได้เป็น 4 องค์ประกอบ ได้แก่
(1) ตัวนวัตกรรม หากตัวนวัตกรรมมีความง่ายในการอธิบาย จะมำให้การกระจายออกไปได้กว้างและรวดเร็วมากขึ้นในกลุ่มสังคม
(2) ช่องทางการติดต่อสื่อสาร อาจเป็นเสียงหรือภาพ ในรูปแบบใดก็ได้ หรืออาจเป็นแบบไม่เป็นทางการ เช่น การพูดคุยกันทั่วไประหว่างเพื่อน เป็นต้น หากเป็นสื่อระดับกว้าง (Mass media) ก็จะกระจายได้รวดเร็วมากขึ้น
(3) เวลา ถือเป็นตัวแปรที่สำคัญ เวลาจะเป็นตัวกำหนดในกระบวนการการตัดสินใจ (Decision process) ว่า คนจะยอมรับนวัตกรรมนั้น ช้า หรือ เร็ว
และ (4) ระบบสังคม ในที่นี้ หมายถึง บุคคล กลุ่ม องค์การ หรือทั้งสามอย่างรวมกัน ที่มีความสนใจหรือเป้าหมายในลักษณะเดียวกันหรือร่วมกัน 
ส่วนคำว่า “นวัตกรรม (Innovation)” นั้น โรเจอร์สได้ให้ความหมายว่า “นวัตกรรม หมายถึง แนวคิด การปฏิบัติ หรือ วัตถุสิ่งของ ที่ได้รับการยอมรับกันว่ามีความใหม่” (หมายเหตุ คำนิยามนี้ใช้ในปี ค.ศ. 2003 ซึ่งอาจจะไม่ครอบคลุมความหมายนวัตกรรมในยุคใหม่แล้ว – ความเห็นของผู้เขียน)



ทฤษฎีของ ศาสตราจารย์ โรเจอร์ส ได้รับการเพิ่มเติมโดย ดอกเตอร์ มัวร์ (Geoffrey Moore) ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Hi-tech innovation) โดยมัวร์ได้ระบุว่า ความสำเร็จในการกระจายนวัตกรรมสิ่งใหม่ (Disruptive innovation) ไปสู่มวลชนนั้น จะต้อง “ก้าวข้ามหุบเหวมรณะ (สำนวนผู้เขียน)”หรือ Crossing the Chasm ให้ได้ก่อน ซึ่งแนวคิดนี้ถูกตีพิมพ์ออกมาในปี ค.ศ. 1991





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ (New product development: NPD)           กิจการที่ต้องการ “ เติบโตแบบก้าวกระโดด ” จำเป็นที่จะต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์...